Sunday, March 6, 2016

วิธีซ่อมและเปลี่ยนลูกบิดประตูง่าย ๆ ไม่ใช่ช่างก็ทำได้




ลูกบิดประตูบ้านเมื่อ ใช้งานไปนาน ๆ หรือติดตั้งไม่ถูกวิธีก็อาจชำรุด พัง และใช้งานไม่ได้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยให้บ้านควรรีบซ่อมแซมและเปลี่ยนทันที ซึ่งในวันนี้เรามีวิธีซ่อมและเปลี่ยนลูกบิดประตูบ้านมาฝากค่ะ

          ลูกบิดประตูบ้านป็นอุปกรณ์ อย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับบ้าน โดยส่วนใหญ่แล้วลูกบิดจะมีความแข็งแรง ทนต่อการงัดแงะ แต่ทั้งนี้ถ้าใช้งานไปนาน ๆ หรือติดตั้งไม่ถูกวิธี ลูกบิดก็อาจจะพัง ชำรุด ทำให้ไม่สามารถป้องกันคนภายนอกที่อาจจะเข้ามาหรืออาจจะเป็นปัญหาให้กับคนใน บ้านเองได้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับการซ่อมลูกบิดในหลาย ๆ ลักษณะมาฝาก รวมถึงการเปลี่ยนและซ่อมลูกบิดประตูด้วยตัวเองมาฝากด้วยค่ะ 
 

 ชนิดของลูกบิด
 

1. ลูกบิดประตูธรรมดาทั่วไป

          ใช้การล็อกจากด้านใน ส่วนด้านนอกสามารถปลดล็อกได้ด้วยกุญแจจากด้านนอก นิยมใช้กับประตูบ้านหรือห้องนอน เพราะลูกบิดประเภทนี้จะเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก

2. ลูกบิดแบบทางผ่าน

          ลูกบิดประตูที่ไม่สามารถล็อกได้ เพราะมีมือจับอย่างเดียวและใช้กลอนประตูล็อกแทน เหมาะสำหรับประตูทางผ่านที่ไม่ต้องการความปลอดภัยมากหรือประตูห้องน้ำ สาธารณะ

3. ลูกบิดประตูห้องน้ำ-ห้องนอนเด็ก

          ลูกบิดที่ใช้การล็อกจากด้านใน ส่วนด้านนอกสามารถปลดล็อกได้ด้วยกุญแจหรือเหรียญ ถ้าเกิดอุบัติเหตุจะได้ช่วยเหลือได้รวดเร็วและทันเวลา
 

สาเหตุที่ทำให้ลูกบิดเสีย

          เนื่องจากลูกบิดมีส่วนประกอบและกลไกการทำงานที่ค่อนข้างจะซับซ้อน การที่ลูกบิดเสีย ชำรุด หรือใช้งานไม่ได้นั้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ 

          ลิ้นไม่ล็อกจนทำให้สามารถเขี่ยลิ้นได้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง

          หัวลูกบิดหลุดจากชุดตัวเรือนกุญแจ สาเหตุเกิดจากการถอดหัวลูกบิดในระหว่างการติดตั้งแล้วใส่กลับไม่ได้หรือไม่เข้าล็อก

          ปุ่มกดกดยากหรือลงไม่สุด สาเหตุเพราะเกิดจากลูกบิดเสียรูปทรงทำให้กล่องลิ้นเคลื่อนที่ไม่สุด

          ลูกบิดฝืด สาเหตุเพราะเกิดจากการติดตั้งหรือลูกบิดอาจจะเกิดจากการถูกกระแทกจนเสียสภาพ

          ลูกกุญแจไขไม่ได้ สาเหตุเพราะเกิดจากการสลับลูกกุญแจ

          หัวลูกบิดสีลอก สาเหตุเพราะเกิดจากแลคเกอร์ที่เคลือบสีหลุดลอก ทำให้ผิวชิ้นงานสัมผัสกับฝุ่นละอองและความชื้น

          ลูกบิดที่ใช้นาน ๆ หลวมไม่พอดีกับประตู สาเหตุเกิดจากการหดและบิดตัวของบานประตูหรือเกิดจากการคลายตัวของสกรู

          หัวลูกบิดด้านในหมุนไม่ได้ สาเหตุเกิดจากการหดและบิดตัวของบานประตูหรือเกิดจากการคลายตัวของสกรู

          หัวลูกบิดเป็นคราบดำหรือคราบด่าง สาเหตุอาจจะเกิดจากสารเคมีบางตัวในสารทำความสะอาด เช่น คลอรีน กำมะถัน และแคลเซียม ซึ่งส่วนมากจะเป็นส่วนผสมของสารทำความสะอาดเกือบทุกชนิด

          ลูกกุญแจเสียบลูกยากหรือดึงลูกยาก สาเหตุเกิดจากฟันกุญแจบุบ บิ่น หรือลูกกุญแจบิดงอ



วิธีซ่อมลูกบิดประตูบ้าน


1. ลูกบิดค้าง

          วิธีนี้แก้ได้ง่าย  ๆ ไม่ต้องไขมือจับลูกบิดออก ถ้าปุ่มล็อกจากด้านในเป็นแบบนูนขึ้น ให้ใช้มือจับปุ่มล็อกให้แน่น กดลง แล้วหมุนปุ่มล็อกขึ้น ถ้าปุ่มล็อกเป็นแบบมีร่องตรงกลาง ให้ใช้นิ้วโป้งกดลงไปให้ตรงร่อง กดให้แน่นแล้วหมุนขึ้น

2. ลูกบิดประตูเปิดไม่ออก

          เมื่อเกิดปัญหาลูกบิดค้าง ประตูจะเปิดไม่ได้เสมือนกับว่าโดนล็อกไว้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในห้องก็ตาม ให้แก้โดยใช้ตะปูหรือเข็มเล็ก ๆ แทงเข้าไปในรูที่อยู่คอลูกบิดด้านในพร้อมกับหมุนลูกบิดไปด้วย เมื่อเปิดประตูได้แล้วให้ถอดมือจับลูกบิดด้านในออก โดยใช้เข็มหรือตะปูแทงรูที่อยู่คอลูกบิด ดึงมือจับออกแล้วฉีดน้ำมันหล่อลื่น หมุนแกนลูกบิดเพื่อให้น้ำมันเข้าทั่วถึง จากนั้นนำมือจับใส่เข้าไปดังเดิม

3. ลูกบิดคลอน

          ให้ลองหมุนฝาครอบลูกบิดด้านนอกให้แน่น ถ้าหมุนจนสุดแล้วแต่ลูกบิดยังคลอนอยู่แสดงว่าสกรูด้านในคลายตัว วิธีซ่อมก็คือให้ถอดมือจับด้านในและฝาครอบออกโดยใช้ตะปูแทงรูเล็ก ๆ บริเวณคอลูกบิดด้านใน ใช้ไขควงขันสกรูด้านในให้แน่น แล้วใส่ฝาครอบและลูกบิดคืนดังเดิม
 

วิธีเปลี่ยนลูกบิดประตู

 
หารูเล็ก ๆ บริเวณมือจับด้านใน แล้วใช้ตะปูหรือโลหะปลายแหลมแทงลงไปเพื่อให้แกนล็อกลูกบิดคลายตัวออก

  
จากนั้นดึงมือจับด้านในออก งัดฝาครอบออกด้วย

  
ถอดแผ่นประกบยึดลูกบิด โดยใช้ไขควงหมุนสกรูออก


ดึงมือจับด้านนอก ลูกบิดเก่า และหมุนสกรูปลดเดือยล็อกตรงกลางออก


เมื่อถอดลูกบิดเก่าออกทั้งหมดแล้วให้ใส่เดือยล็อกอันใหม่เข้าไป หมุนสกรูติดให้แน่น


เมื่อถอดลูกบิดเก่าออกทั้งหมดแล้วให้ใส่เดือยล็อกอันใหม่เข้าไป หมุนสกรูติดให้แน่น


สุดท้ายใส่มือจับด้านในให้ลงล็อก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Frosty Life, rmi, foremanblog และ homedecorthai
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Frosty Life
http://home.kapook.com/view142533.html

No comments:

Post a Comment