Thursday, December 31, 2015

มาดูกัน! วิธีแก้ปัญหาท่ออุดตันอย่างง่าย ๆ



        ปัญหาท่อน้ำอุดตัน เป็นปัญหาใหญ่ในบ้านไม่ใช่น้อย เพราะไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำตรงจุดไหนอุดตัน ก็สามารถสร้างความเดือดร้อนในชีวิตประจำวันของเราได้หลายสิ่งเลยล่ะ จะเข้าห้องน้ำก็ลำบาก จะล้างจานก็ไม่ได้ ดังนั้นวันนี้เรามาดูวิธีแก้ปัญหาท่อน้ำอุดตันตามจุดต่าง ๆ ในบ้านกันดีกว่า ทำได้ง่าย ๆ ตามนี้เลยจ้า

1. ท่อตันในอ่างล่างหน้าและห้องน้ำ

            เริ่มแรกเลยเราต้องขจัดเศษสกปรกที่ตกค้างอยู่บนฝาท่อออกก่อน จากนั้นก็งัดฝาท่อขึ้นมาขัดทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่และแปรงสีฟันที่ไม่ใช้ แล้ว เสร็จแล้วให้ใส่ท่อกลับไปที่เดิม แล้วลองเปิดน้ำให้ไหลผ่านท่อเพื่อทดสอบ จะรู้สึกได้ว่าน้ำไหลได้สะดวกขึ้นแล้วล่ะ

2. ไม้ดูดท่อช่วยได้

           ในกรณีที่การทำความความสะอาดฝาท่อไม่ได้ผล ไม้ดูดท่อ หรือที่คุ้นชินกันในชื่อไม้ดูดส้วมก็สามารถช่วยแก้ปัญหาท่ออุดตันได้เช่นกัน โดยเปิดฝาท่อออก แล้วใช้ผ้าชุบน้ำคลุมปากท่อไว้ก่อน จากนั้นวางไม้ดูดท่อให้ตรงกับตำแหน่งท่อ แล้วเปิดน้ำให้ท่วมไม้ดูดท่อ เมื่อท่วมแล้วก็ออกแรงกดไม้ประมาณ 15-20 ครั้ง ให้ความกดอากาศดันสิ่งอุดตันลงไปให้หมด ทำซ้ำกันอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำจะไหลลงท่อได้สะดวกขึ้นค่ะ

3. เกี่ยวเศษอุดตันท่อด้วยไม้แขวนเสื้อ

          หากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข แสดงว่ามีสิ่งอุดตันชิ้นใหญ่อยู่ในท่อคุณแล้วล่ะ ดังนั้นให้สละไม้แขวนเสื้อ 1 อัน มาแยกร่างให้กลายเป็นลวดเส้นยาวที่มีตะขอสำหรับเกี่ยวเอาเศษอุดตันในท่อออก มา เมื่อได้แล้วก็ดำเนินการได้เลย โดยใช้หัวไม้แขวนเสื้อค่อย ๆ แหย่ลงไปในท่อจนเจอกับต้นตอ จากนั้นให้ค่อย ๆ ใช้ตะขอเกี่ยวดึงเศษอุดตันขึ้นมา ขั้นตอนสุดท้ายให้เปิดน้ำกรอกลงท่ออีกนิดเพื่อล้างเศษสกปรกที่ติดค้างอยู่ใน ลงท่อไปให้หมด

4. แก้ปัญหาอ่างล้างจานท่อตัน

           สำหรับปัญหาท่ออุดตันในอ่างล้างจาน ส่วนมากจะเกิดเพราะมีเศษอาหารอุดตันตรงช่วงโค้งของท่อ หรือที่เรียกกันว่า P-trap ซึ่งสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการทำความสะอาดฝาท่ออ่างล้างจานก่อน แล้วถอดท่อ P-trap ใต้อ่างล้างจานออก จากนั้นนำมาทำความสะอาดสิ่งอุดตันที่อยู่ภายในท่อให้สะอาด ส่วนบริเวณท่อที่ติดอยู่กับผนังสามารถทำความสะอาดโดยใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่เรียกว่า งูเหล็ก ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถโค้งงอตามลักษณะท่อ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป ในราคา 200-800 บาทตามขนาดความยาวค่ะ

5. โทรเรียกช่างถ้าไม่สำเร็จ

           ถ้าสุดท้ายแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาท่ออุดตันได้ แนะนำให้โทรเรียกช่างมาจัดการปัญหานี้ให้คุณน่าจะเวิร์คกว่าทั้งอุปกรณ์ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการขจัดท่ออุดตัน ดังนั้นถ้าคุณลองแก้ปัญหาตัวเองแล้วแต่ไม่สำเร็จ ช่างผู้เชี่ยวชาญคือคำตอบสุดท้ายจ้า

           ทางที่ดีควรป้องกันไม่ให้ท่อน้ำของคุณอุดตันง่าย ด้วยการกรองเศษอาหาร และไม่เทลงไปในท่อ พร้อมทั้งกำจัดเศษสกปรกที่ติดค้างอยู่บนฝาท่อเป็นประจำ เพียงเท่านี้เราก็ไม่ต้องเจอปัญหาท่ออุดตันให้ต้องปวดหัวบ่อย ๆ แล้วจ้า

http://home.kapook.com/view62904.html
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/773774779713178922/

Tuesday, December 29, 2015

8 สิ่งที่ควรรู้ในการดูแลบ้านด้วยตัวเอง

    
      บางครั้งนอกจากจ้างช่างซ่อมมาคอยดูแลรื่องต่าง ๆ แล้ว เราก็ควรเรียนรู้ทักษะการซ่อมหรือดูแลบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อไว้ใช้พึ่งตัวเองในยามฉุกเฉินบ้างเหมือนกัน ซึ่งอ่านมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าการทำเรื่องต่าง ๆ เองนั้นเป็นเรื่องยากเกินไป แต่เชื่อเถอะว่าถ้าคุณรู้จักเทคนิคดี ๆ แล้วล่ะก็ การดูแลบ้านด้วยตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร เพียงแค่คุณลองทำตามนี้ดู
 

 1. แก้อ่างล้างหน้าตันด้วยตัวเอง

           การใช้พวกสารเคมีขจัดสิ่งอุดตันในท่อไม่ใช่วิธีที่ดีเสมอไป เพราะจะเป็นการกัดกร่อนอ่างล้างหน้าของคุณให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้นตามไปด้วย คุณจึงควรหันมาใช้วิธีขจัดสิ่งอุดตันที่ปลอดภัยกับอ่างล้างหน้าของคุณมาก ขึ้นด้วยการใช้ไมปั๊มท่อแทน ทั้งนี้ขณะใช้ไม้ปั๊มดูดสิ่งอุดตันออกมา ควรเปิดก๊อกน้ำให้มีน้ำขังอยู่ในอ่างพอสมควรด้วย จะช่วยให้ปั๊มทำงานง่ายขึ้นได้


2. ดูแลหลอดไฟให้ใช้ได้นาน ๆ

            ถ้าคุณรู้จักดูแลรักษาหลอดไฟให้ถูกวิธี คุณก็ทำให้หลอดไฟที่ซื้อมามีอายุการใช้งานนานขึ้นได้ โดยสิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ปิดสวิตซ์ไฟก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงถอดหลอดออกมาเช็ดด้านในด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอลล์ แล้วจึงใช้ไขควงดันให้วงจรไฟฟ้าต่าง ๆ ในหลอดไฟแน่นขึ้นก่อนนำไปใช้งานอีกครั้ง เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย 


 3. เจาะกระเบื้องไม่ให้ผุกร่อน

            เริ่มแรกนำไขควงมาวางทาบไว้บนพื้นที่ซึ่งคุณต้องการจะเจาะแล้วใช้ค้อนตอก เบา ๆ พอให้เกิดรอยเล็กน้อย จากนั้นจึงใช้สว่านที่ใส่ดอกเจาะปูนค่อย ๆ เจาะเข้าไปตามรูที่เราทำเอาไว้โดยหยุดเป็นพัก ๆ กระเบื้องก็จะไม่แตกออกจนเป็นรอยดูไม่น่ามองบนกำแพง 


 4. ปัญหาประตูฝืดก็สำคัญ

            คุณอาจมองว่าประตูฝืดเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่ออกแรงเสียหน่อยก็ไม่มี ปัญหาอะไรแล้ว แต่ถ้าคุณมีเด็กเล็กหรือคนแก่อยู่ในบ้าน พวกเขาก็อาจติดอยู่ในห้อง เพราะไม่มีแรงพอจะกระชากประตูให้เปิดได้เหมือนกัน แถมคุณเองก็ยังต้องรู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งที่ต้องพยายามออกแรงเกินจำเป็น เพียงเพื่อเปิดประตูด้วย ดังนั้นควรแก้ปัญหานี้ให้หมดไป ด้วยการเลื่อยบานประตูด้านล่างออกเล็กน้อยให้สั้นลง แล้วทาสีเคลือบอีกชั้นเพื่อลดความฝืด ประตูของคุณจะได้เปิดได้ง่ายโดยไม่ติดขัดอีกต่อไป 


5. กำจัดสีเหลือใช้ออกไปจากบ้าน

            สีที่ถูกทิ้งไว้ไม่ได้ใช้นาน ๆ ต่อให้ปิดฝาไว้ สุดท้ายก็จะแห้งจนใช้ไม่ได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นแทนที่จะเก็บเอาไว้เฉย ๆ จนเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ คุณก็ควรซื้อสีแค่ปริมาณพอใช้ก็พอ จะได้ไม่มีสีเหลือมากนัก นอกจากนี้ ถ้ายังมีสีเหลืออีกก็ควรเอาไปบริจาคตามโรงเรียนหรือสถานที่ต่าง ๆ ให้คนอื่นได้ใช้แทนที่จะเก็บเอาไว้เฉย ๆ 


6. ระวังเรื่องแก๊สเป็นพิเศษ

            ครัวแบบปิดที่มีแก๊สรั่วอยู่สามารถติดไฟได้อย่างรวดเร็วจนน่าตกใจเลยล่ะ ฉะนั้นถ้าคุณได้กลิ่นแก๊สลอยออกมาก็อย่าประมาท ควรรีบปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ไฟฉาย หรือคอมพิวเตอร์ แล้วเรียกช่างมาดูทันทีเพื่อความปลอดภัย 


 7. รู้วิธีซ่อมกริ่งประตูบ้าน

            หากกริ่งประตูที่บ้านของคุณไม่มีเสียงก็อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจออกไปซื้อ ใหม่ ลองหาวิธีแก้ไขด้วยตัวเองก่อน โดยถอดออกมาตรวจดูให้ละเอียดว่าที่กริ่งประตูคุณไม่มีเสียงเป็นเพราะเสียที่ สวิตซ์หรือเป็นเพราะตัวกริ่งเองกันแน่ จากนั้นจึงลองทำความสะอาดกริ่งหรือใช้ไขควงกดสายไฟให้แน่นขึ้นดู อาจช่วยให้กริ่งกลับมาใช้ดีเหมือนเดิมได้ 


 8. เก็บรายละเอียดสินค้าที่ซื้อมาให้ดี

            เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ๆ บางชิ้นโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ซื้อจากบริษัทที่เชื่อถือได้มักมี รับประกันอายุการใช้งานเสมอ ดังนั้นคุณจึงควรเก็บใบเสร็จและกล่องคู่มือเอาไว้ให้ดี ถ้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนเกิดเสียภายในเวลาที่รับประกันขึ้นมา คุจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมโดยไม่จำเป็น

           นอกจากใส่ใจดูแล บ้านเพื่อให้เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ใช้ได้นานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากแล้ว ก็ควรเอาใจใส่เรื่องความปลอดภัยของตัวคุณเอง ด้วยการสวมถุงมือหรืออุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ ขณะซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยนะคะ
 

http://home.kapook.com/view44050.html
cr. pic. https://www.pinterest.com/pin/442408363409487896/

Saturday, December 26, 2015

วิธีเปลี่ยนกระเบื้องที่ชำรุด ด้วยตัวเอง



         ถึงแม้จะมั่นใจในฝีมือของช่างและคุณภาพของกระเบื้องที่ซื้อมามากแค่ไหน แต่ อาจจะมีแผ่นกระเบื้องบางส่วนแตกหรือหลุดร่อนออกมาอยู่ดี ซึ่งวิธีแก้ไขสำหรับปัญหานี้คือ ควรจะรีบซ่อมแซมส่วนที่เกิดความเสียหายโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้รอยแตกร้าวเชื่อมโยงไปสู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งถ้าอยากประหยัดงบคุณก็สามารถลงมือซ่อมแซมด้วยตัวเองได้เหมือนกัน ทั้งนี้ก่อนจะถึงขั้นตอนการซ่อมแซม จะต้องได้กระเบื้องที่มีขนาดพอดีและสีที่เหมือนกับของเดิมหรือใกล้เคียงมา เสียก่อน แล้วค่อยลงมือทำตามวิธีต่อไปนี้

        อุปกรณ์ที่ต้องใช้

       
เทปกาว
       
กระเบื้องที่มี่ขนาดและสีใกล้เคียงกับแผ่นที่ชำรุด
       
ตะปู
       
ค้อน
       
สิ่ว
       
ปูนซีเมนต์
       
ทราย
       
เกียงโบกปูน
       
ยาแนว

       
       
1. นำเทปกาวมาแปะบนแผ่นกระเบื้องให้ทั่ว เพื่อป้องกันไม่ให้รอยแตกร้าวขยายเป็นวงกว้าง และชำรุดแตกหักมากกว่าเดิม ยกเว้นบริเวณขอบปูนและแผ่นกระเบื้องที่ต้องการซ่อมแซม

       
2. นำปลายตะปูวางลงไปตรงกลางของแผ่นกระเบื้องที่ชำรุด จากนั้นใช้ค้อนทุบเพื่อให้กระเบื้องแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะช่วยให้สามารถนำกระเบื้องเก่าที่ชำรุดออกมาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

       
3. ใช้สิ่ววางลงบนกึ่งกลางของแผ่นกระเบื้อง โดยให้ปลายสิ่วหันไปยังด้านตรงข้ามกับตัวคุณ พร้อมกับวางสิ่วให้ทำมุมกับพื้นประมาณ 45 องศา จากนั้นใช้ค้อนทุบหัวสิ่ว เพื่อแซะกระเบื้องที่ชำรุดและรอยปูนเก่าที่ใช้ติดแผ่นกระเบื้องออกมา จนกว่าจะถึงชั้นของพื้นจริง โดยทำขั้นตอนนี้ไปต่อเนื่องจนกว่ารอยปูนที่อยู่ใต้กระเบื้องจะหลุดออกมาทั้ง หมด

       
4. เตรียมปูนที่จะใช้ปูกระเบื้อง โดยการผสมปูนและทรายในอัตรา 1 ต่อ 2 ส่วน ในแต่ละครั้งควรผสมปูนแค่พอประมาณ ไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปูนแข็งตัว ทั้ง ๆ ที่ยังใช้ปูนไม่หมด อีกทั้งกระเบื้องที่ชำรุดก็มีแค่ไม่กี่แผ่นเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องผสมเยอะเกินไป

       
5. ใช้เกียงโบกปูนที่ผสมเสร็จแล้วลงไปบนบริเวณที่ต้องการปูกระเบื้องใหม่ ไม่ควรโบกปูนบางหรือหนาจนเกินไป เพราะอาจทำให้กระเบื้องหลุดร่อนง่าย หรือมีปูนล้นออกมาจากขอบกระเบื้อง จากนั้นหยิบแผ่นกระเบื้องที่ต้องการมากดทับลงไป โดยเว้นขอบแต่ละด้านเอาไว้ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใช้ด้ามเกียงตอกบนแผ่นกระเบื้องเบา ๆ เพื่อให้กระเบื้องติดแน่นมากขึ้น และทิ้งเอาไว้จนกว่าปูนใต้กระเบื้องจะแห้งสนิท

        
6. หลังจากที่ปูนใต้แผ่นกระเบื้องแห้งสนิทแล้ว ผสมปูนยาแนวกับน้ำเปล่า ในอัตรา 1 ต่อ 1 ส่วน ฉาบลงไปในบริเวณร่องกระเบื้องให้เต็ม แล้วทิ้งให้เอาไว้ให้ปูนยาแนวแห้งพอหมาด ๆ จากนั้นค่อยนำฟองน้ำเช็ดขอบยาแนวจนเรียบเสมอกันทั้งหมด พร้อมกับทำความสะอาดคราบสกปรก และรอบเปื้อนที่ปรากฏอยู่บนผิวกระเบื้องจนหมด ก็จะได้กระเบื้องแผ่นใหม่มาแทนของเดิมที่ชำรุดแล้วจ้า

        ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระเบื้องเล็ก ๆ อย่าง กระเบื้องโมเสก ไปจนถึงกระเบื้องแผ่นใหญ่ ๆ ที่ใช้กันทั่วไป หากมีการแตกหักหรือชำรุดเสียหาย คุณก็สามารถเปลี่ยนใหม่ด้วยตัวเองได้แบบง่าย ๆ เพียงเท่านี้บ้านของคุณที่เคยมีรอยแตกร้าวกลับมาสวยงามได้แบบเดิมแล้วล่ะ


http://home.kapook.com/view56218.html

Thursday, December 24, 2015

เผย 10 จุดลับแหล่งเพาะเชื้อโรคในบ้าน รีบฆ่ามันก่อนมันฆ่าคุณ !


       เปิดโปงสารพัดของใช้ใกล้ตัวที่เป็นแหล่งก่อตัวของเชื้อโรคร้ายคอยทำลาย สุขภาพ พร้อมวิธีทำความสะอาดไว้กำจัดพวกมันออกไปซะ ก่อนเชื้อโรคจะกระจายไปทั่วบ้าน

         ของใช้ในบ้านที่ เห็นว่าสะอาดอาจไม่สะอาดอย่างที่คิด ที่สำคัญของบางอย่างยังกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดีอย่างที่ไม่เคยรู้มา ก่อนว่าอยู่ใกล้ตัวขนาดนี้ กระปุกดอทคอมเลยจึงถือโอกาสนำมาบอกให้รู้ตัวก่อนว่ามีของชิ้นไหนบ้างที่ เชื้อโรคชอบยกโขยงมาแพร่พันธุ์ จะได้รีบกำจัดออกไปให้ไกลจากคนในบ้านก่อนมีคนเป็นลมล้มหมอนนอนเสื่อ

1. ไม้กวาด

         อีกหนึ่งอุปกรณ์ทำความสะอาดที่เปิดโอกาสให้เชื้อโรคมาฝังตัวอยู่อย่างหน้าตา เฉย ขืนเราไม่ยอมทำความสะอาดไม้กวาดนั้นก็ต้องลากสิ่งสกปรกไปทั่วทั้งบ้านแน่นอน ส่วนวิธีทำความสะอาดเราก็แค่นำออกไปสะบัดฝุ่นนอกบ้าน ซักล้างหัวไม้กวาดในน้ำสบู่ หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดแทนก็ได้ค่ะ

2. หลังตู้สูง ๆ ที่เราหลงลืม

         ไม่ต้องสงสัยหากมีคนใดคนหนึ่งในบ้านจามขึ้นมาทั้ง ๆ ที่เราก็ทำความสะอาดบ้านเรียบร้อยแล้ว นั่นเป็นเพราะเราอาจจะหลงลืมหรือละเลยการปัดฝุ่นบนหลังตู้ ถึงแม้จะเป็นคราบสกปรกที่มองไม่เห็น แต่อย่าลืมว่าฝุ่นเพียงน้อยนิดก็สามารถทำให้เกิดภูมิแพ้ได้ แล้วนับประสาอะไรกับฝุ่นหนาเตอะบนหลังตู้ที่ไม่ได้ทำความสะอาดมานานนับเดือน ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ควรจะหยิบผ้ามาเช็ดฝุ่นเหล่านั้นออกไปเสียที

3. เครื่องครัว

         ครัวเป็นหนึ่งสถานที่สำคัญที่เราไม่ควรปล่อยให้ผ่านเลยไป แม้จะทำความสะอาดบนโต๊ะบนเคาน์เตอร์ครัวหรือพื้นเรียบร้อยแล้ว แต่ตัวถังขยะ บรรดาด้ามจับทั้งหลาย และอ่างล้างจานต่างก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว ทางที่ดีเราควรจะผสมน้ำสบู่ใส่ขวดสเปรย์เพื่อฉีดพ่นและเช็ดด้ามจับ หมั่นล้างอ่างล้างจานทุกวัน และเช็ดตัวถังขยะไปพร้อมกับการเปลี่ยนถุงใส่ขยะบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในบ้านได้เยอะเลย

4. ฟองน้ำล้างจาน

         ใช่ว่าเครื่องมือทำความสะอาดจานอย่างฟองน้ำล้างจานจะไม่มีเชื้อโรคนะ เพราะทุกครั้งที่เรานำมาขัด ๆ ถู ๆ บนจาน เชื้อโรคก็จะเริ่มก่อตัวและใช้ฟองน้ำเป็นที่ตั้งรกรากรอวันเข้าสู่ร่างกาย ก่อนทำร้ายร่างกายจนต้องเข้าโรงพยาบาลกันไปข้างนึง ฉะนั้นหากไม่อยากให้เหตุการณ์ร้าย ๆ แบบนี้เกิดขึ้นควรทำความสะอาดฟองน้ำทุกครั้งหลังใช้ โดยการแช่ลงในน้ำผสมผงซักฟอกแล้วซักให้สะอาดก่อนนำตากแห้ง หรืออบด้วยคามร้อนในไมโครเวฟประมาณ 3 วินาที 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อกำจัดไปยันรกรากของเชื้อโรคเลย

5. เครื่องดูดฝุ่น

         แม้เครื่องดูดฝุ่นจะเปรียบเสมือนมือขวาในการทำความสะอาดของแม่บ้าน แต่หากเราหลงลืมที่จะทำความสะอาดที่ตัวเครื่อง เครื่องดูดฝุ่นก็จะกลายเป็นแหล่งปล่อยตัวเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียให้ กระจายไปตามห้องต่าง ๆ ในบ้านของคุณ ฉะนั้นหลังการใช้งานควรนำถุงกรองไปซักด้วยน้ำอุ่นแล้วตากให้แห้งก่อนนำกลับ มาใช้ทุกครั้ง ส่วนถุงกรองแบบกระดาษก็หมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ เท่าที่จะเป็นไปได้นะคะ

6. มูลี่เปิด-ปิดหน้าต่าง

         หลายคนมัวแต่สนใจวิวนอกหน้าต่างจนมองไม่เห็นกองฝุ่นหนาเตอะบนบานเกล็ดมูลี่ ไปซะอย่างนั้น อย่าปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเด็ดขาดเพราะมันอาจก่อตัวเป็นเชื้อโรคโบยบินใน อากาศ เพื่อรอเราสูดหายใจเข้าไป ให้ใช้ถุงเท้าเก่า ๆ หรือผ้าขี้ริ้วชุบน้ำบิดหมาด ๆ มาสวมนิ้ว แล้วถูไปตามเกล็ดมูลี่แต่ละชั้นจนสะอาดพร้อมเช็ดตามด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์อีก ทีเพื่อป้องกันไม่ให้มูลี่มีคราบน้ำ

7. แก้วใส่แปรงสีฟัน

         นอกจากแปรงสีฟันที่เราต้องเปลี่ยนในทุก ๆ 3 เดือนแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่เราควรจะทำความสะอาดบ่อย ๆ นั่นก็คือแก้วหรือกล่องเสียบแปรงสีฟัน ก่อนที่คราบน้ำและไรฝุ่นจะไปเกาะอยู่ตามแปรงสีฟัน ลองคิดดูสิว่ามันน่าขยะแขยงขนาดไหนถ้ามีเชื้อโรคเป็นล้านเกาะอยู่ที่ฟันของ เรา ฉะนั้นอย่าลืมล้างแก้วใส่แปรงสีฟันและเช็ดให้แห้งก่อนนำไปใช้ต่อ ควรทำแบบนี้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ด้วยนะคะ

8. พรมผืนนุ่ม ๆ

         แม้วัตถุประสงค์ของพรมจะทำให้บ้านแลดูอบอุ่นและมีสไตล์ แต่พอนานวันไปชักไม่อยากจะเชื่อซะแล้วว่าพรมจะให้ประโยชน์กับบ้านเพียงอย่าง เดียว เพราะมันคือแหล่งเก็บตัวของกองทัพไรฝุ่นที่พร้อมจะสร้างภูมิแพ้ให้กับคนใน บ้าน ดังนั้นจึงควรดูดฝุ่นเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งก็ยังดีหากมีเวลาไม่ มาก แล้วก็ไม่ใช่ดูดฝุ่นแค่ด้านบนอย่างเดียวล่ะ อย่าลืมยกพรมขึ้นแล้วดูดฝุ่นที่พื้นด้วยนะ

9. ไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้าน

         ไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านก็ไม่ต่างอะไรจากเฟอร์นิเจอร์ที่เราต้องทำความสะอาด และคอยกำจัดฝุ่นไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการหาผ้าชุบน้ำหมาด ๆ มาเช็ดตามใบ กิ่ง และลำต้นให้สะอาดเอี่ยม พืชพรรณเหล่านั้นจะได้สร้างบรรยากาศที่สดใสให้กับบ้านเราอยู่เสมอและจะได้ ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคด้วย

10. พัดลมเพดาน


         ขนาดพัดลมตั้งพื้นยังสะสมฝุ่นจนจะทอเป็นเสื่อได้เลย แล้วนับประสาอะไรกับพัดลมเพดานที่ยากจะเอื้อมถึงล่ะ ถ้าไม่อยากปล่อยให้ฝุ่นหนา ๆ เหล่านั้นสะบัดลอยมาตามลมให้เราสูดหายใจเข้าไป แนะนำให้หาปลอกหมอนเก่า ๆ มาครอบใบพัดทีละอันแล้วรูดฝุ่นให้ตกอยู่ในปลอกหมอน ก่อนจะใช้ผ้าชุบน้ำทำความสะอาดอีกครั้ง

         เมื่อรู้อย่างนี้แล้วคุณแม่บ้านและสมาชิกในบ้านหลาย ๆ ท่าน คงจะไม่ยอมเผลอปล่อยให้สิ่งของเหล่านี้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคร้ายแล้วหัน กลับมาทำลายเราอย่างแน่นอน ด้วยวิธีทำความสะอาดเด็ด ๆ ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้นะคะ

Monday, December 7, 2015

ทำใจเลย ! 12 ปัญหาคอนโดพบบ่อย คิดจะอยู่ต้องรู้ไว้




        ปัญหาบางอย่างอาจไม่สามารถตรวจ เช็กได้ล่วงหน้า ต้องเข้าไปอยู่ถึงจะรู้ แต่อย่างน้อยก็คงดีกว่าหากได้รู้ก่อน หากคิดจะอยู่คอนโดต้องทำใจไว้ล่วงหน้าเพราะอาจเจอ 1 ใน 12 ปัญหานี้

          การซื้อคอนโดบางคนอาจจะดูแค่เรื่องความสะดวกสบาย เช่น ติดรถไฟฟ้า ใกล้แหล่งช้อปปิ้ง ฟังก์ชั่นเยอะดี หรือโปรโมชั่นแจ่ม ความไม่รอบคอบแบบนี้นี่แหละที่อาจทำให้คุณนั่งน้ำตาตกภายหลัง เพราะสารพัดปัญหาที่คุณไม่เคยเช็กมาก่อนตอนซื้อคอนโดหรือไม่สามารถเช็กได้จน กว่าจะ โดยเฉพาะ 12 ปัญหาน่าปวดเศียรเวียนเกล้าที่คนอยู่คอนโดมักจะเจอกันเป็นประจำ

12 ปัญหา คอนโดที่มักพบเจอ (Terrabkk)

          คอนโดมิเนียม (Condominium) ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการแชร์พื้นที่ส่วนกลางให้ใช้ร่วมกันและมีผู้คนอยู่อาศัยใช้ชีวิตอยู่ ร่วมกันเป็นจำนวนมาก โดยต่างคนต่างก็มีลักษณะพื้นฐานของการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาทรัพย์สิน ความสะอาด ความมีวินัย กฎกติกา มรายาท จึงส่งผลให้คอนโดมักจะมีปัญหาร้องเรียนมากกว่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น ๆ แน่นอนว่าการอยู่อาศัยกับผู้คนเป็นจำนวนมาก ๆ ต้องมีปัญหามีการกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นเรื่องปกติทั้งเพื่อนบ้านที่อยู่ ห้องข้าง รวมถึงการละเมิดกฎต่าง ๆ ของการใช้อาคาร โดยไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียมมือหนึ่งหรือคอนโดมิเนียมมือสอง ต่างก็จะมีปัญหาคล้าย ๆ กัน TerraBKK จึงได้รวบรวมประเด็นปัญหาที่เรามักจะพบเจออยู่เป็นประจำ มีดังต่อไปนี้

 1. ปัญหาที่จอดรถไม่เพียงพอ

          ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการเลือกซื้อคอนโด ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมือหนึ่งหรือมือสองคือจำนวนที่จอดรถ โดยเฉพาะโครงการใหม่มักจะมีปัญหาที่จอดรถไม่พอกับจำนวนรถที่ลูกบ้านมี ทำให้เกิดปัญหาแย่งที่จอดรถอยู่เป็นประจำ สำหรับที่จอดรถของโครงการใหม่เทียบกับโครงการมีสองเมื่อหลายปีก่อน ต้องบอกเลยว่าโครงการมือสองอาจจะมีที่จอดรถมากกว่าโครงการสมัยนี้ที่พยายาม ลดจำนวนที่จอดรถลงเพื่อให้สามารถขายห้องได้มากขึ้น อีกทั้งโครงการสมัยนี้โดยเฉพาะโครงการที่คอนโดติดกับสถานีรถไฟฟ้า ปริมาณที่จอดรถจะมีไม่มากนัก เพราะผู้ประกอบการจะคิดว่าคนอยู่คอนโดติดรถไฟฟ้าไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ใช้รถ ถ้าหากโครงการคำนวณที่จอดรถผิดก็จะทำให้เกิดปัญหาแย่งที่รถตามมา โดยมาตรฐานแล้วตามกฎหมายจำนวนที่จอดรถต้องมีอย่างน้อย 1 คันต่อพื้นที่ 120 ตารางเมตร ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมเราควรตรวจเช็กจำนวนที่จอดรถ ก่อนว่า มีเหมาะสมกับจำนวนห้องหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นตามมาในภายหลัง

2. ปัญหาเพื่อนบ้าน

          จากปริมาณคนที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมเป็นจำนวนมาก ผู้อยู่อาศัยอาจจะได้รับการรบกวนจากห้องในบริเวณรอบ ๆ เรา ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโหวกเหวกโวยวายในเวลากลางดึก กวาดขยะออกมาบริเวณทางเดิน ไม่เก็บรองเท้าให้เป็นที่เป็นทางแบบนี้เป็นต้น ทำให้คนที่รับไม่ได้กับปัญหาที่เกี่ยวกับเพื่อนบ้านในลักษณะนี้อาจจะมีการ กระทบกระทั่งเกิดขึ้นบ้าง การแก้ไขอาจจะส่งเรื่องให้ทางนิติบุคคล ซึ่งเป็นคนกลางช่วยเราในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

3. น้ำรั่วน้ำซึม

          ปัญหาใหญ่ของทั้งคอนโดใหม่และคอนโดเก่า ปัญหานี้มีทั้งปัญหาที่รั่วซึมจากภายนอกจากตอนฝนตกกับรั่วซึมภายในจากงาน ระบบ ปัญหารั่วซึมจากงานระบบมักจะพบในคอนโดที่มีอายุอาคารค่อนข้างมากเนื่องจาก งานระบบที่ติดตั้งไว้เป็นเวลาหลายปีนั้น วัสดุจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานตามข้อต่อต่างๆเริ่มชำรุดเสีย หายทำให้เกิดการรั่่วซึมขึ้น ส่วนคอนโดใหม่ ๆ มักจะไม่ค่อยมีปัญหาตรงนี้ส่วนใหญ่จะพบเจอปัญหารั่วซึ่มจากน้ำฝนที่ซึมเข้า มาภายในอาคารมากกว่าซึ่งเกิดจากคุณภาพในการก่อสร้างที่ำไม่ดีทำให้มีน้ำซึม เข้ามาตามรอยต่อของตัวอาคาร สำหรับปัญหานำรั่วซึ่มวิธีแก้ปัญหา คือ ติดต่อนิติบุคคลให้ทราบเพื่อให้นิติบคคุลติดต่อช่าง เข้ามาดูว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แล้วจะต้องแก้ไขปัญหาต่อไป

4. ปัญหาลิฟท์ช้า

          ปัญหาลิฟท์เป็นปัญหาที่เกิดตั้งแต่การเลือกซื้อโครงการ สาเหตุที่ลิฟท์ช้ามาจากปริมาณลิฟท์ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้อยู่อาศัย โดยปกติแล้วสัดส่วนที่นิยมใช้ในการดูว่าลิฟท์เพียงพอกับจำนวนผู้อยู่อาศัย หรือไม่หาได้จาก จำนวนลิฟต์ : จำนวนห้อง เท่ากับ 1 : 100 หมายถึงลิฟท์ 1 ตัวควรจะรองรับห้องไม่เกิน 100 ห้อง ถ้าเกินกว่านี้อาจจะทำให้เจอปัญหาลิฟท์ช้าได้

5. หนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระ

          ค่าส่วนกลาง เป็นค่าใช้จ่ายที่ลูกบ้านจะต้องจ่ายให้แก่นิติบุคคลเป็นประจำทุกปี ถ้าลูกบ้านไม่จ่ายค่าส่วนกลางตรงนี้จะกลายเป็นหนี้ที่ลูกบ้านจะต้องชำระคืน เพื่อนำค่าส่วนกลางไปจ่ายค่าจ้างพนักกงานประจำคอนโดที่คอยดูแล ทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง สำหรับคนที่ต้องการขายคอนโดแล้วมีหนี้ค่าส่วนกลางที่ค้างชำระอยู่กับ นิติบุคคลอยู่ก็ไม่สามารถทำการขายได้ โดยต้องรอการอนุมัติจากนิติบุคคลก่อนถึงจะสามารถขายให้แก่บุคคลอื่นได้

6. ไม่มีลูกบ้านเข้าร่วมการประชุมจำปี

          ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวที่สุดอันหนึ่ง โดยปกติแล้วการที่คอนโดจะปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงอาคารประจำปี จะต้องมีการประชุมของลูกบ้านว่าเราจะมีแผนที่จะพัฒนาปรับปรุงอะไรบ้างประจำ ปี สำหรับการตัดสินใจว่าจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรนั้น ต้องขึ้นอยู่กับทางเจ้าของร่วมผู้ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในตัวสินทรัพย์ ส่วนกลาง แต่พอถึงคราวประชุมกลับมีองค์ประชุมไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้เรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินการไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ปัญหาตรงนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือของเจ้าของร่วมให้ช่วยกันเข้ามาประชุม เพื่อรับฟังปัญหาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้คอนโดของเราเป็นคอนโดน่าอยู่

7. สัญญาณโทรศัพท์ติด ๆ ดับ ๆ

          หลาย ๆ คนอาจจะเคยเจอปัญหานี้ ในบางจุดของอาคารอาจจะมีปัญหาเรื่องของสัญญาณโทรศัพท์เนื่องจากผู้พัฒนา โครงการไม่ได้ติดตั้งตัวขยายสัญญาณมาให้ ทำให้ห้องที่อยู่ในชั้นสูง ๆ หรือมีจุดอับสัญญาณอาจจะไม่สามารถโทรเข้าโทรออกได้ ถ้าหากเจอปัญหานี้อาจจะต้องพูดคุยกับนิติบุคคลให้ช่วยติดต่อไปค่ายจำหน่าย สัญญาณมือถือให้มาติดตั้งเครื่องขยายสัญญาณ (การติดตั้งอาจจะมีค่าใช้จ่าย)

8. ผู้รับเหมาหมกเม็ด

          ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ผู้ซื้อโครงการไม่สามารถรับรู้ได้ถ้าสังเกตุด้วยตา เปล่า ปัญหาจะค่อยๆเผยขึ้นในตอนหลังหลังจากที่ได้ซื้อโครงการไป เช่น ปัญหาผนังร้าว อาคารทรุด พื้นทรุด เป็นต้น ทางแก้อาจจะต้องเลือกโครงการที่จ้างผู้รับเหมาที่เชื่อถือได้มีประวัติการทำ งานที่ไม่มีการฉ้อโกงมาก่อน ก็จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง

9. นิติบุคคลไร้ประสิทธิภาพ

          นิติบุคคลฯ เปรียบได้กับ หน้าตาของโครงการเราจะสามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างโครงการที่บริหารดีกับบริหารแย่ได้อย่าง ชัดเจน อสังหาริมทรัพย์ที่มีนิติบุคคลฯ มืออาชีพ มีประสบการณ์ในการทำงาน และจัดการโครงการให้ดูใหม่อยู่เสมอ ก็จะทำให้โครงการนั้นดูสะอาด ดูใหม่ และมีสภาพที่น่าอยู่อาศัยไปตลอด ส่วนโครงการที่มีนิติบุคคลฯ บริหารไม่ดี ไม่ใส่ใจโครงการ ก็จะดูเสื่อมสภาพเร็ว มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นเราควรที่จะใส่ใจกับนิติบุคคลให้มากก่อนที่คอนโดที่เราอยู่อาศัยจะ เสื่อมค่าไปเมื่อตกอยู่ในมือของนิติบุคคลที่ไร้ประสิทธิภาพ

10. ปัญหากลิ่นบุหรี่

          มาถึงปัญหาในเชิงของสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ที่อยู่อาศัยในคอนโดกันบ้าง โดยเฉพาะคอนโดที่มีผู้พักอาศัยเป็นชาวจีน ฮ่องกง เกาหลี หรือญี่ปุ่น คนเหล่านี้จะมีนิสัยคือสูบบุหรี่จัดอยู่แล้ว กลิ่นบุหรี่ที่ผู้พักอาศัยสูบในห้องอาจจะลอยขึ้นมาตามท่อระบายน้ำ หรือตามช่องลมที่จะพัดเข้าสู่ห้องอื่น ๆ ที่อยู่ในอาคาร โดยควันบุหรี่จะสร้างความรำคาญอย่างมากแก่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ทั้งกลิ่นที่ เหม็น สุขภาพของผู้พักอาศัยที่จะแย่ลง ซึ่งจะส่งผลในระยะยาว ปัญหาตรงนี้เราอาจจะต้องแจ้งไปยังนิติบุคคลให้นิติบุคคลทราบ เพื่อที่จะควบคุมหรือเตือนผู้พักอาศัยให้ไม่สูบบุหรี่รบกวนผู้อื่นหรือสูบใน ที่ที่ทางอาคารจัดไว้ให้

11. บุคคลภายนอกแอบใช้พื้นที่ส่วนกลาง

          บุคคลภายนอกไม่ว่าจะเป็นเพื่อนของลูกบ้านหรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ อาคาร บุคคลเหล่านี้จะเข้ามาใช้พื้นที่ส่วนกลางโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นสวนส่วนกลาง สระว่ายน้ำ ฟิตเนส เกินความเหมาะสมที่จะรองรับได้ บางครั้งไปเบียดเบียนสิทธิ์ที่ลูกบ้านควรจะได้รับด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ที่เกิดขึ้นก็คือค่าส่วนกลางที่เจ้าของร่วมต้องจ่าย ให้แก่นิติบุคคล สำหรับนำไปปรับปรุงสิ่งที่ชำรุดเสียหายหรือดูแลรักษาให้ดูดีอยู่เสมอ

12. ไม่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

          เรื่องของความปลอดภัยก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหา ความรัดกุมของรปภ. บางครั้งอาจจะดูแลได้ไม่ทั่วถึงหรือไม่เข้มงวดเพียงพอทำให้มีบุคคลภายนอก เข้าไปในอาคารได้โดยที่ไม่รู้ตัว เช่น มีคนแปลกหน้าเดินตามทั้งที่ไม่มีคีย์การ์ดขึ้นลิฟต์โดยไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของลูกบ้านที่อยู่อาศัย จนบางครั้งเรามักจะได้เห็นตามสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโจรหรือผู้ร้ายที่อาจจะทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายในช่วงที่ผู้รักษา ความปลอดภัยไม่ระมัดระวัง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Terrabkk
http://home.kapook.com/view135855.html

Sunday, November 22, 2015

15 วิธีประหยัดน้ำ เริ่มทำได้ง่าย ๆ เริ่มจากที่บ้าน





        วิธีประหยัดน้ำ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ให้มีไว้ใช้ได้นานจนถึงรุ่นลูกหลาน แถมยังประหยัดเงินค่าน้ำที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน

         วิธีประหยัดน้ำ สิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร แล้วสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้เรียกว่าการช่วยประหยัดน้ำได้หรือเปล่า กระปุกดอทคอมเลยรวบรวม 15 วิธีประหยัดน้ำมาฝากกัน เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำถือเป็นปัญหาเข้าขั้นวิกฤตที่เกิดขึ้นกับทุก ประเทศ ก่อนที่เราจะไม่มีนำไว้ใช้อีกต่อไป แถมยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้อีกทางหนึ่งด้วยนะ 
 

1. เช็คท่อน้ำและก๊อกน้ำ

         รู้ไหมคะว่าน้ำหยดเล็ก ๆ จากท่อน้ำหรือก๊อกน้ำที่ติดตั้งไม่แน่นนั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ซ่อมแซมในแต่ละวันนั้นจะสูญเสียน้ำไปประมาณ 75 ลิตร และถ้าท่อน้ำมีขนาดใหญ่จะเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 387 ลิตร คิดูสิคะว่ามันมากมายแค่ไหน
 

2. ไม่ทิ้งขยะลงชักโครก

         การทิ้งขยะลงชักโครกนอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ชักโครกตันแล้วยังเป็นการ สิ้นเปลืองน้ำอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัย กระดาษชำระ หรือก้นบุหรี่ที่ถูกท้งลงไป จะต้องใช้น้ำปริมาณมากทีเดียวในการชำระล้างไม่ให้เหลือซาก


3. ตรวจเช็คถังเก็บน้ำชักโครกเสมอ

         หากถังเก็บน้ำชักโครกรั่วจะทำให้มีน้ำไหลลงชักโครกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นแล้วควรหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำ โดยการใส่สีผสมอาหารลงไปในถังเก็บน้ำชักโครกแล้วกดน้ำทิ้ง และหลังจากกดน้ำไปแล้วประมาณ 30 วินาทียังมีน้ำไหลออกมา แสดงว่าถังเก็บน้ำชักโครกชำรุด ต้องรีบซ่อมแซมโดยด่วน
 

4. ปิดน้ำระหว่างแปรงฟัน

         หลาย ๆ คนมักจะเผลอเปิดน้ำขณะแปรงฟัน เพราะคิดว่าคงจะไม่สิ้นเปลืองอะไรมากมาย โดยที่ไม่รู้เลยว่าการทำเช่นนี้ทำให้เสียน้ำไปถึง 200 แกลลอนหรือ 757 ลิตรโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งเทียบเท่ากับสระขนาดใหญ่ที่สามารถใช้เลี้ยงฉลามได้ถึง 6 ตัวเลยทีเดียว
 

5. ปิดน้ำระหว่างถูสบู่

         จะเปิดน้ำทิ้งไปทำไมหากในระหว่างที่สระผมหรือถูสบู่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงควรปิดน้ำให้สนิทเสียก่อน แล้วค่อยเปิดน้ำอีกครั้งหลังจากชำระร่างกายด้วยสบู่เสร็จ
 

6. อาบน้ำให้เร็วขึ้น

         เพราะในการอาบน้ำแค่ 4 นาทีเท่ากับการใช้น้ำไป 75–150 ลิตร ซึ่งถ้าอาบนานกว่านี้ปริมาณของน้ำที่ต้องใช้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นแล้วควรอาบน้ำให้เร็วขึ้นอีกนิด ใช้เวลาให้น้อยลง เพื่อช่วยกันประหยัดทรัพยากรน้ำไว้ใช้ในภายภาคหน้า


7. อาบน้ำโดยใช้ฝักบัว

         หลายคนคงชอบนอนแช่ในอ่างอาบน้ำ แต่หลังจากนอนแช่ในอ่างเสร็จก็ต้องมาล้างตัวด้วยน้ำสะอาดอีกรอบอยู่ดี ซึ่งเท่ากับว่าใช้น้ำเป็น 2 เท่าเลยทีเดียว ฉะนั้นเปลี่ยนมาอาบน้ำโดยใช้ฝักบัวจะช่วยประหยัดได้มากกว่าเยอะเลยง
 

8. เปลี่ยนวิธีล้างจาน

         หลาย ๆ คนอาจจะชินกับการเปิดน้ำไหลผ่านเพื่อล้างฟองสบู่ แต่กว่าจานจะสะอาดก็ต้องเสียน้ำไปมากเหมือนกัน เลยอยากแนะนำให้รองน้ำใส่กะละมังหรือซิงค์เอาไว้ก่อนแล้วค่อยนำจานมาล้าง ซึ่งวิธีนี้ทำให้จานสะอาดมากกว่า แถมยังใช้น้ำในการล้างจานน้อยกว่าด้วย
 

9. ไม่เปิดน้ำไหลผ่านผักและผลไม้

         เช่นเดียวกับการล้างจาน การเปิดน้ำให้ไหลผ่านผักและผลไม้ต้องใช้น้ำเยอะและอาจจะล้างผักผลไม้ได้ไม่สะอาด ฉะนั้นจึงแนะนำให้ล้างโดยการเปิดน้ำใส่ซิงค์หรือกะละมังแล้วนำผักกับผลไม้ แช่ลงไปดีกว่า
 

10. ปลูกหญ้ารอบโคนต้นไม้

         การปลูกหญ้ารอบโคนต้นไม้จะช่วยชะลอการระเหยน้ำ ถ้าบริเวณที่ปลูกต้นไม้มีแค่ดินหรือมีหญ้าเป็นหย่อม ๆ น้ำจะระเหยเร็วมากหลังจากรดน้ำต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ได้รับน้ำไม่เพียงพอ เหี่ยวเฉา และต้องรดใหม่อีกรอบ


11. ล้างรถให้ถูกวิธี

         การล้างรถอย่างถูกวิธีก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยประหยัดน้ำได้ โดยการล้างรถจากส่วนบนมาส่วนล่างและใช้ถังน้ำแทนสายยางจะช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่า แถมหลังจากนี้ก็จะได้ไม่ต้องตกใจกับค่าน้ำแพง ๆ ในแต่ละเดือนอีกต่อไปแล้วด้วย
 

12. ซักผ้าครั้งละมาก ๆ

         การซักผ้าครั้งละน้อยชิ้นจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมากเพราะต้องทยอยซักเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อนำปริมาณน้ำซักผ้ามาคิดรวมกันแล้วจะมากกว่าการซักครั้งเดียวรวมกัน หลายเท่า ฉะนั้นแล้วควรเก็บไว้ซักพร้อมกันอาจจะซักผ้าแค่ 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
 

13. ตรวจสอบมิเตอร์น้ำ

         การตรวจสอบมิเตอร์น้ำเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้รู้ว่าแต่ละเดือนนั้นใช้น้ำไปเท่าไรแล้ว ยังสามารถเช็คน้ำรั่วได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยให้ปิดน้ำแล้วไปเช็คมิเตอร์ ถ้ามิเตอร์ยังเพิ่มแสดงว่ามีน้ำรั่ว และถ้าเจอก็รีบให้ซ่อมแซมเสียนะคะ ก่อนที่จะเสียน้ำไปมากกว่านี้


14. รียูสน้ำซักผ้า

         หลังจากซักผ้าและล้างจานอย่าเพิ่งเทน้ำทิ้ง เพราะสามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ต่อได้ แต่แนะนำให้ใช้น้ำสุดท้ายเท่านั้นนะคะ เพราะน้ำจากการซักผ้าและล้างจานครั้งแรก ๆ นั้นมีสารเคมีอยู่ ซึ่งอาจทำให้ต้นไม้เหี่ยวหรือเฉาตาย
 

15. ช่วยกันอนุรักษ์ป่า

         เพราะต้นไม้และป่าเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ เมื่อต้นไม้ถูกตัดแล้วก็จะไม่มีแหล่งดูดซึมน้ำฝนและก่อให้เกิดสภาวะแห้งแล้ง ตามมา ฉะนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ป่าเพื่อรักษาต้นน้ำของเราเอาไว้
 

         เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับวิธีประหยัด 15 วิธีที่เรานำมาฝาก จะเห็นได้ว่าแต่ละวิธีต่างก็เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากอะไร บางวิธีก็เป็นวิธีที่คาดคิดไม่ถึงแต่ก็ช่วยประหยัดน้ำได้มากเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ต้องอาศัยจิตสำนึกของเราทุกคน ฉะนั้นแล้วถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ช่วยกันประหยัดไว้ค่ะ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์น้ำไว้ใช้กันนาน ๆ ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน 
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก treehugger eartheasy  และ epa
http://home.kapook.com/view129790.html
เครดิตภาพ http://funmozar.com/water-wallpapers/