Monday, March 28, 2016

รู้ไว้สักนิด 10 ข้อควรเลี่ยงในการสร้างบ้าน




       ถ้ามีโอกาสได้สร้างบ้านสักหลัง เราคงอยากได้บ้านที่ออกแบบมาได้ตรงใจ เหมาะกับไลฟ์สไตล์เราที่สุด และมีโครงสร้างการออกแบบที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ อยู่แล้วสะดวกสบาย ไม่มีปัญหาหนักใจใด ๆ ภายหลังใช่ไหมคะ และถ้าคุณกำลังเตรียมตัวสร้างบ้าน กันอยู่ล่ะก็ เราอยากให้เก็บ 10 ข้อควรเลี่ยงในการสร้างบ้านต่อไปนี้ไว้พิจารณากันด้วย จะได้มีบ้านหลังงามที่สมบูรณ์แบบที่สุดค่ะ


1. กะขนาดพื้นที่ไม่เหมาะกับแอร์

          อาจจะเป็นเพราะอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน จึงทำให้คนที่กำลังจะสร้างบ้านใหม่ คิดเรื่องการติดเครื่องปรับอากาศกันเป็นอันดับต้น ๆ แต่สิ่งที่มักทำพลาดกันบ่อย ๆ ก็คือ การกะขนาดห้องกับเครื่องปรับอากาศได้ไม่พอดีกัน โดยส่วนมากจะเป็นปัญหาเรื่องโครงสร้างของห้องหรือขนาดพื้นที่ที่กว้างมาก เกินไป ทำให้เวลาติดเครื่องปรับอากาศก็จะให้ความเย็นได้ไม่ทั่วถึง จนต้องปรับอุณหภูมิให้ต่ำลง หรือต้องติดเครื่องปรับอากาศหลายเครื่อง เป็นเหตุเปลืองไฟไปเปล่า ๆ ดังนั้นอย่าลืมดูค่า BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้องด้วยนะคะ

 

2. ออกแบบพื้นที่ไม่เหมาะสม

          หลัก ๆ แล้วพื้นที่ภายในบ้านหลังหนึ่งจะประกอบไปด้วยห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องโถง ห้องเก็บของ แต่บางบ้านที่มีพื้นที่กว้างพออาจจะเพิ่มห้องแต่งตัว ห้องทำงาน ห้องพระ ห้องออกกำลังกาย ห้องอาหารเข้าไปด้วย ซึ่งประเด็นก็คือ หลายบ้านออกแบบพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น สร้างห้องแต่งตัวใหญ่ไป จนกินพื้นที่ห้องนอน ห้องน้ำ หรือห้องรับแขก หรือประหยัดพื้นที่ห้องต่าง ๆ เกินไปจนห้องโถงกว้างโล่งดูไม่สมดุล ดังนั้นก่อนจะลงมือสร้างก็ควรคำนึงถึงความพอดี และการใช้งานของแต่ละห้องด้วย หรือแบ่งพื้นที่ว่างโล่งไว้บ้าง เผื่อวันข้างหน้าหากมีโครงการต่อเติมพื้นที่ในบ้านขึ้นมาจะได้ไม่วุ่นวาย

 

3. สร้างบ้านโดยไม่คำนึงถึงอนาคต

          อย่างที่บอกไปว่าการออกแบบบ้านค่อนข้างต้องใช้ความรอบคอบ และสายตาที่กว้างไกล มองให้ไกลไปถึงอนาคต ในขณะที่ก็คำนึงถึงประโยชน์และความสะดวกสบายของทุกคนในบ้านด้วย อย่างเช่นบ้านที่มีเด็กเล็ก หรือคนชราก็ควรจะเลือกสร้างห้องหรือโครงสร้างบ้านที่ดูปลอดภัย ไม่ต้องมีพื้นต่างระดับให้เสี่ยงอุบัติเหตุ หรือมีห้องนอนชั้นล่างเพื่อความสะดวก รวมไปถึงต้องมองยาวไปถึงอนาคต ว่าอาจจะต้องต่อเติมบ้าน หรือเราจะต้องการอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า คิดเผื่อไว้ก่อนวันข้างหน้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะไรจะได้ไม่ ลำบากจ้า

 

4. บ้านทึบเกินไป

          ถ้าต้องการสร้างบ้านให้ประหยัดพลังงาน อย่างแรกที่เราไม่ควรพลาดเลยก็คือการออกแบบให้บ้านมีหน้าต่าง หรือติดกระจกที่กำแพงบ้าน ให้แสงส่องเข้ามาได้ เพราะนอกจากพลังงานแสงจากธรรมชาติอย่างแสงแดดจะช่วยให้เราประหยัดไฟแล้ว ยังสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียในบ้านได้ด้วย และหากบ้านมีกระจกหรือหน้าต่างเยอะ ก็จะได้ถือโอกาสเปิดรับลมให้บ้านในช่วงกลางวัน ให้บ้านได้ระบายอากาศ และความอับชื้นได้อีกทาง แต่ต้องไม่ลืมดูทิศทางของลมและแสงแดดให้ดีด้วย

 

5. ห้องที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน

          สำหรับบ้านที่มีพื้นที่มากพอจะทำห้องต่าง ๆ ได้หลายห้อง ก็อาจจะเผลอออกแบบห้องด้วยความเพลิดเพลิน จนทำให้มีห้องเกินความจำเป็นต่อการใช้งาน ฉะนั้นจึงอยากแนะนำให้ใคร่ครวญให้ดี และเลือกสร้างบ้านตามความจำเป็นดีกว่า ห้องไหนที่ไม่คิดว่าจะได้ใช้งาน หรือไม่ค่อยมีความจำเป็นสักเท่าไร ก็ระงับการสร้างไว้ก่อน แล้วเปลี่ยนใจมาสร้างห้องที่สามารถเปลี่ยนใช้งานได้ตามความเหมาะสมเถอะ จะได้ไม่เกิดเหตุประเภทห้องออกกำลังกายกลายเป็นห้องตากผ้า หรือที่แขวนเสื้อผ้านะคะ และหากตัดห้องไม่สำคัญออกไปบ้าง อาจทำให้พื้นที่ในห้องอื่น ๆ ขยายกว้างขึ้นได้ด้วย



6. จัดวางระบบน้ำไม่ถูกต้อง

          ระบบน้ำหลัก ๆ ของบ้านอย่างก็อกน้ำต่าง ๆ คงไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่ต้องระวังเพราะมักจะพลาดกันเป็นส่วนใหญ่ก็คือการจัดวางตำแหน่ง เครื่องซักผ้า และท่อน้ำทิ้ง ซึ่งถ้าวางระบบไม่ดีก็อาจจะเกิดปัญหาท่ออุดตัน น้ำล้น หรือน้ำท่วมบ้านในภายหลัง ดังนั้นจึงอยากให้ศึกษาตำแหน่งจัดวางเครื่องซักผ้าโดยปรึกษากับวิศวกรหรือ ผู้รับเหมาให้ดี ว่าควรจะวางระบบซักล้างไว้ในตำแหน่งไหนของบ้านได้บ้าง เพื่อป้องกันปัญหาจุกจิกที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

 
 
7. เลือกตำแหน่งห้องนอนไม่เหมาะสม


          ห้องนอนควรจะต้องอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากเสียงรบกวน ไม่อยู่ใกล้โรงจอดรถ และไม่มีผนังติดกันกับห้องนั่งเล่นในกรณีที่มีสมาชิกอยู่กันหลายคน หรือถ้าบ้านเป็นแบบบ้าน 2 ชั้น ก็เลือกห้องนอนให้อยู่ชั้นบน แต่ถ้าเป็นแบบบ้านชั้นเดียวควรเลือกตำแหน่งห้องนอนให้อยู่ลึกสุด เพื่อกันไม่ให้มีเสียงดังเล็ดลอดเข้ามารบกวนในขณะที่นอนหลับได้ แต่อย่าลืมว่าต้องไม่อยู่ติดกับห้องครัวด้วยค่ะ เพราะกลิ่นรบกวนและความร้อนจากการทำอาหารจะทำให้นอนไม่สบาย หลับไม่สนิท และอาจเกิดอันตรายจากไฟไหม้ได้

 

8. ห้องครัวอยู่ผิดที่ผิดทาง

          ห้องครัวเป็นห้องที่ถือว่าถูกใช้งานมากที่สุดห้องหนึ่งในบ้าน อีกทั้งยังมีความวุ่นวายจากการลงมือประกอบอาหาร รวมถึงของข้าวของเครื่องใช้ของมีคมต่าง ๆ อีกมากมาย ดังนั้นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของห้องครัวควรจะเป็นพื้นที่ด้านหลังที่ติด กับโรงจอดรถ และอยู่ใกล้กับห้องรับประทานอาหาร เวลาที่ซื้อของเข้าบ้าน จะได้เดินเข้าทางหลังบ้าน วางของทุกอย่างไว้ในครัวก่อน แล้วค่อยแยกเก็บให้เป็นที่เป็นทาง สะดวกสบาย และเป็นการเลี่ยงการเดินหิ้วของเข้าออกผ่านห้องรับแขกด้วย นอกจากนี้หากห้องครัวอยู่หลังบ้านยังสามารถระบายกลิ่นจากการทำอาหารได้ง่าย โดยไม่ส่งกลิ่นรบกวนมาถึงบริเวณหน้าบ้านด้วย

 

9. โรงจอดรถอยู่หน้าบ้าน

          ตำแหน่งที่ใช้เป็นโรงจอดรถควรจะต้องติดกับประตู ด้านหลังบ้าน ห้องครัว หรือห้องเก็บของ เพราะส่วนมากโรงจอดรถมักจะเป็นสถานที่ที่เรามักจะวางของที่เคลียร์ลงจากหลัง รถออกมาวางไว้ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้ากีฬา ชุดกีฬาที่ยังไม่ได้ซัก หรือข้าวของต่าง ๆ ซึ่งพอเอาลงมาแล้วจะได้หิ้วเข้าทางหลังบ้านไปยังห้องซักล้าง หรือห้องต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่ต้องเดินเข้าทางหน้าบ้านให้วุ่นวายเลอะเทอะ ดังนั้นหากเลี่ยงได้ไม่ควรมีโรงจอดรถอยู่หน้าประตูเข้าบ้านโดยตรง แต่ควรอยู่ด้านข้างหรือหลังบ้านมากกว่า

 
 
10. ทำตามคำแนะนำจากคนอื่น


          อย่าลืมว่าบ้านนี้เป็นบ้านของคุณและครอบครัว ดังนั้นก็สร้างบ้านตามความเหมาะสมและความจำเป็นที่คุณกับครอบครัวต้องการก็ พอ ส่วนสิ่งที่คนอื่นแนะนำก็แค่รับฟังไว้ อันไหนที่คุณเห็นด้วยก็ดีที่จะลองทำตาม หรืออันไหนที่คิดว่าไม่เหมาะกับความต้องการจริง ๆ ก็ปล่อยผ่านไปดีกว่า เพื่อความสะดวกสบายและความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของคุณเองนะคะ ไม่จำเป็นต้องสร้างบ้านตามคำพูดของคนอื่นทุกครั้งและทุกเรื่อง เพราะบางอย่างอาจจะไม่เหมาะกับการใช้ชีวิตของคุณและครอบครัวก็ได้


          ใครที่กำลังมีแผนจะสร้างบ้าน หรือกำลังสร้างบ้านอยู่ ลองนำ 10 ข้อควรเลี่ยงนี้ไปเป็นส่วนประกอบการพิจารณาสร้างบ้านดูนะคะ จะได้ออกแบบบ้านไม่พลาด ได้บ้านที่สวยงามน่าอยู่กันจ้า



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/228065168616651736/

Saturday, March 26, 2016

วิธีทำความสะอาดพัดลมตั้งโต๊ะ ล้างเองได้ง่ายนิดเดียว




วิธีทำความพัดลมง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้เองใน 6 ขั้นตอน อยากให้พัดลมกลับมาทำงานเหมือนตอนซื้อใหม่ ๆ ก็ทำตามขั้นตอนการล้างพัดลมที่เรานำมาให้ชมกันในวันนี้เลยค่ะ

          ฝุ่นที่จับตัวบนพัดลมนอกจากจะทำให้ลมเย็นน้อยลงแล้ว ฝุ่นเหล่านั้นยังเป็นที่มาของโรคต่าง ๆ ด้วย ฉะนั้นในหน้าร้อนนี้หากอยากให้พัดลมปล่อยลมเย็นแรง ๆ เหมือนตอนซื้อมาใหม่ ๆ ไม่ต้องจ้างช่างมาดูเครื่องให้เสียเวลา แค่ถอดชิ้นส่วนพัดลมออกมาทำความสะอาดซะ แต่ถ้าไม่รู้จะทำความสะอาดพัดลมอย่างไร ก็ไม่ต้องกังวล เพราะวันนี้กระปุกดอทคอมมีวิธีทำความสะอาดพัดลมมาฝากแล้ว


อุปกรณ์

          - แปรงสีฟัน
          - ผ้าขี้ริ้ว

วิธีล้างพัดลม

 
แกะตัวล็อกตะแกรงออก ซึ่งจะมีตั้งแต่ 3-5 จุด หลังแกะตัวล็อกครบแล้ว ก็ถอดตะแกรงหน้าออกมา

  
หมุนตัวล็อกใบพัดตรงกลางไปตามทิศทางที่เขียนบอกไว้บนตัวล็อก แล้วถอดทั้งตัวล็อกและใบพัดออกมา

  
หมุนตัวล็อกตะแกรงด้านหลังและถอดตะแกรงหลังออกด้วย

  
นำใบพัดและตะแกรงไปล้าง แล้วใช้วิธีฉีดน้ำหรือใช้แปรงสีฟันขัดซี่ตะแกรงหากยังมีฝุ่นติดอยู่ จากนั้นนำชิ้นส่วนที่ล้างเสร็จแล้วไปเช็ดด้วยผ้าขี้ริ้วให้แห้งสนิท

  
นำชิ้นส่วนมาประกอบตามเดิม เริ่มจากตะแกรงหลัง ตัวล็อกตะแกรงหลัง ใบพัด ตัวล็อกใบพัด โดยจะต้องหมุนเกลียวทุกส่วนประกอบให้แน่นก่อนนำตะแกรงหน้ามาใส่แล้วกดตัวล็อกให้แน่น

  
ลองเปิดพัดลม ถ้าใบพัดส่ายแสดงว่าหมุนไม่แน่น ให้ถอดประกอบใหม่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikihow และ Pizzscn
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Pizzscn
http://home.kapook.com/view144249.html



Thursday, March 24, 2016

การซ่อมแซมก๊อกน้ำ




เมื่อก๊อกน้ำยอดนิยม (หัวบอล) รั่วซึม

เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/pin/349169777329203318/

 
ในเบื้องต้นให้ใช้ไขควงขันน๊อตที่ยึดหัวก๊อกให้แน่น ถ้ายังรั่วซึมให้ถอดตัวก๊อกออกมาเพื่อตรวจดูสภาพภายในระบบของวาล์วมีการสึกหรอหรือไม่ ทั้งนี้ การรั้วซึมอาจเป็นเพราะแหวนยางกันซึม (Oring) ซึ่งอยู่ตรงกลางของตัววาล์วฉีกขาด หรือแผ่นยางควบคุมการเปิดปิดน้ำที่อยู่เสื่อมปลายของวาล์วเสื่อมสภาพ ขั้นตอนี่ 2 : เทคนิคการเปลี่ยนแหวนยาง
 
ปิดวาล์วส่งน้ำ (Stop Valve) จากนั้นจึงใช้คีมหรือประแจถอดตัวก๊อกออกมาเพื่อเปลี่ยนแหวนยาง (O ring) แต่ถ้าการรั่วซึมเกิดจากแผ่นยางควบคุมการเปิดปิด ให้คลายสกรูที่ยึดแผ่นออกจากวาล์วแล้วเปลี่ยนใหม่ ก่อนใส่แผ่นยางอันใหม่ให้ทาจาระบีหรือซิลิโคนเล็กน้อย เพื่อช่วยให้แผ่นยางไม่แข็งตัวและเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร


ขั้นตอนที่ 1 การซ่อมแซมก๊อกชนิดแรงกดดัน
การซ่อมแซมก๊อกน้ำชนิดแรงกดดัน : ก๊อกน้ำชนิดนี้โดยส่วนใหญ่จะแยกท่อน้ำร้อนน้ำเย็นออกจากกันและส่วนที่เกิด การเสียหายที่พบได้มากคือการเสื่อมสภาพหรือการสึกหรอของแหวนกันซึมการ เปลี่ยนแหวนยางกันซึม มีวิธีซ่อมแซมคือถอดฝาครอบมือบิดออก โดยการคลายสกูร ที่อยู่ด้านบนจากนั้นออกแรงดึงมือบิดออกใช้คีมคอม้าคลายน๊อตยึดก้านหมุ่นของ ก๊อกออก ตรวจดูว่าก้านหมุนมีการศึกหรอหรือเสียหายถ้าตรวจพบ ให้ทำการเปลี่ยนทั้งชุด

  
ขั้นตอนที่ 2
ใช้ไขควงคลายสกูร ที่อยู่ด้านใต้ออกเพื่อตรวจสอบภายใน เอาก้านหมุนออกโดยการหมุนออกจากน๊อตยึด ใช้คัตเตอร์ตัด แหวนยางกันซึมออกแล้วเปลี่ยนใหม่ ระวังแหวนยางตัวใหม่ต้องมีขนาดเดียวกับของเดิมทุกประการ เสร็จแล้วให้ประกอบชิ้นส่วนเข้าที่เดิมการใช้ก๊อกน้ำชนิดนี้เวลาเปิดไม่ควรออกแรงบิดมากเกินไป ควรปิดพอให้น้ำหยุดไหล เพื่อเป็นการยึดอายุการใช้งาน


ขั้นตอนที่ 3
การซ่อมแซมก๊อกน้ำชนิดหัวบอล : ก๊อกชนิดนี้สังเกตได้ง่ายจากลักษณะภายนอกคือ จะมีหัวก๊อกกลมและเป็นหัวแบบที่ได้รับความนิยมความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดกับก๊อกชนิดนี้ คือการสึกหรอของ ลูกบอลควบคุมการปิดเปิดน้ำและวงแหวนยางกันซึมเนื่องจากการเสียดสี

  
ขั้นตอนที่ 4
การซ่อมแซมก๊อกน้ำชนิดจานหมุน : ก๊อกน้ำชนิดนี้จะมีที่ปิดเปิดเป็นก้านยาว เวลาใช้ทำได้โดยการยกด้ามขื้นพร้อมกับโยกซ้ายขวาได้ สาเหตุที่จะทำให้ก๊อกชนิดนี้เกิดความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดจากคราบสกปรกที่เกาะอยู่ตามแหวนยาง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างยาง และขารองแหวนซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำรั่วได้ก๊อกชนิดนี้ สามารถถอดประกอบได้ง่าย ดังนั้นหมั่นถอนออกมาเพื่อทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา homedd.com
http://202.129.59.73/tn/Vo/vo_.htm

Friday, March 18, 2016

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ฉนวนกันความร้อน




ฉนวนกันความร้อน ตัวช่วยป้องกันความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในบ้านให้พอเหมาะ อยากรู้ว่าจะเลือกฉนวนกันความร้อนแบบไหนดี วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนมาฝากค่ะ         

          อากาศ ที่ร้อนมากขึ้นทุกวัน คงทำให้หลายคนมองหาบ้านกันความร้อน เพื่อเป็นทางออกของปัญหานี้ และฉนวนกันความร้อน ก็คือวัสดุสำคัญที่จะช่วยป้องกันให้บ้านร้อนน้อยลงได้ ดังนั้นก่อนจะมองหาบ้านกันความร้อน ลองมาทำความรู้จักกับฉนวนกันความร้อนกันก่อนดีกว่าค่ะ

ฉนวนกันความร้อน คืออะไร?


          คือวัสดุที่สามารถสกัดความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ โดยมีลักษณะเบา ประกอบด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมากซึ่งมีคุณสมบัติสกัดกั้นความร้อนให้อยู่ในฟองอากาศ จึงไม่นำพาความร้อนไปยังส่วนอื่น ๆ ซึ่งในด้านการตกแต่งบ้าน นิยมนำมาใช้ติดตั้งไว้บนโครงหลังคาบ้าน เพื่อลดความร้อนแรงของแสงอาทิตย์ไม่ให้ส่งผ่านเข้ามาในบ้าน จนทำให้บ้านเกิดความร้อน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ติดตั้งบริเวณฝ้าเพดานได้เช่นกัน

ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด

          ประเภทของฉนวนกันความร้อน สามารถแบ่งออกตามการใช้งานได้ ดังนี้

          - ฉนวนใยแก้ว (Microfiber)

          ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็ก ๆ มีประสิทธิภาพทนความร้อนสูง จึงสามารถช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้มาก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติกันเสียงรบกวนได้ จึงช่วยให้ไม่รบกวนในยามฝนตก รวมถึงป้องกันความชื้นสูง มีความยืดหยุ่นได้ดีเมื่อถูกกดทับจะสามารถคืนตัวได้เร็ว มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ และป้องกันแมลงหรือเชื้อราได้ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ ม้วนละ 1,500 บาทขึ้นไป ตามขนาดและคุณสมบัติ

          - แผ่นสะท้อนความร้อน (Heat Reflective Sheet)

          เป็นฉนวนที่มีอะลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์สำหรับสะท้อนความร้อนติดอยู่ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งสามารถสะท้อนความร้อนได้ถึง 97% สามารถป้องกันความร้อนทะลุผ่านเข้ามาในบ้านได้ มีความสวยงาม แข็งแรงทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนาน รวมถึงไม่มีสารพิษด้วย ราคาเริ่มต้น ม้วนละ 1,000 บาทขึ้นไป ตามขนาดและคุณสมบัติ

          - อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

          เป็นแผ่นเคลือบอะลูมิเนียมที่ถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีความเหนียวคงทนไม่ขาดง่าย ราคาประหยัด ใช้คู่กับอะลูมิเนียมฟอยล์เทปในการติดตั้ง ราคาเริ่มต้น ม้วนละ 1,000 บาท ตามขนาดและคุณสมบัติ

          - โฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene)

          หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า โฟม PE มีลักษณะเป็นแผ่นเหนียวนุ่ม มีแผ่นฟอยล์บาง ๆ หุ้มเคลือบผิวอยู่อีกชั้น คุณสมบัติต้านความร้อน น้ำหนักเบา เหนียว และทนต่อแรงกระแทกได้ดี อีกทั้งยังทนต่อการกัดกร่อน จึงเหมาะสมกับการใช้ในโรงงานเคมีที่มีไอระเหยของกรด เพื่อช่วยปกป้องหลังคาไม่ให้เกิดเสียหายจากการกัดกร่อน ราคาเริ่มต้น 1,200 บาทขึ้นไป ตามขนาดและคุณสมบัติ

          - โฟมโพลียูริเทน (Polyurethane)

          โฟมชนิดนี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า โฟม PU เป็นเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อน โดยมีคุณสมบัติป้องกันน้ำและความชื้นได้ เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเรื่องระบายความร้อน แต่ข้อเสียคือมีจุดหลอมเหลวต่ำ หากโดนอุณหภูมิร้อนจัดอาจทำให้เปลี่ยนสภาพได้ ราคาเริ่มต้น ประมาณ 300 บาทขึ้นไปต่อตารางเมตร

          ได้รู้จักข้อมูลคร่าว ๆ ของฉนวนกันความร้อนกันไปแล้ว ลองมองหาแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ถูกใจและเหมาะสมมาใช้กับบ้านดูนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
jssteelroof.com , steelintertech.com
http://home.kapook.com/view61487.html

Sunday, March 6, 2016

วิธีซ่อมและเปลี่ยนลูกบิดประตูง่าย ๆ ไม่ใช่ช่างก็ทำได้




ลูกบิดประตูบ้านเมื่อ ใช้งานไปนาน ๆ หรือติดตั้งไม่ถูกวิธีก็อาจชำรุด พัง และใช้งานไม่ได้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยให้บ้านควรรีบซ่อมแซมและเปลี่ยนทันที ซึ่งในวันนี้เรามีวิธีซ่อมและเปลี่ยนลูกบิดประตูบ้านมาฝากค่ะ

          ลูกบิดประตูบ้านป็นอุปกรณ์ อย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับบ้าน โดยส่วนใหญ่แล้วลูกบิดจะมีความแข็งแรง ทนต่อการงัดแงะ แต่ทั้งนี้ถ้าใช้งานไปนาน ๆ หรือติดตั้งไม่ถูกวิธี ลูกบิดก็อาจจะพัง ชำรุด ทำให้ไม่สามารถป้องกันคนภายนอกที่อาจจะเข้ามาหรืออาจจะเป็นปัญหาให้กับคนใน บ้านเองได้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับการซ่อมลูกบิดในหลาย ๆ ลักษณะมาฝาก รวมถึงการเปลี่ยนและซ่อมลูกบิดประตูด้วยตัวเองมาฝากด้วยค่ะ 
 

 ชนิดของลูกบิด
 

1. ลูกบิดประตูธรรมดาทั่วไป

          ใช้การล็อกจากด้านใน ส่วนด้านนอกสามารถปลดล็อกได้ด้วยกุญแจจากด้านนอก นิยมใช้กับประตูบ้านหรือห้องนอน เพราะลูกบิดประเภทนี้จะเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก

2. ลูกบิดแบบทางผ่าน

          ลูกบิดประตูที่ไม่สามารถล็อกได้ เพราะมีมือจับอย่างเดียวและใช้กลอนประตูล็อกแทน เหมาะสำหรับประตูทางผ่านที่ไม่ต้องการความปลอดภัยมากหรือประตูห้องน้ำ สาธารณะ

3. ลูกบิดประตูห้องน้ำ-ห้องนอนเด็ก

          ลูกบิดที่ใช้การล็อกจากด้านใน ส่วนด้านนอกสามารถปลดล็อกได้ด้วยกุญแจหรือเหรียญ ถ้าเกิดอุบัติเหตุจะได้ช่วยเหลือได้รวดเร็วและทันเวลา
 

สาเหตุที่ทำให้ลูกบิดเสีย

          เนื่องจากลูกบิดมีส่วนประกอบและกลไกการทำงานที่ค่อนข้างจะซับซ้อน การที่ลูกบิดเสีย ชำรุด หรือใช้งานไม่ได้นั้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ 

          ลิ้นไม่ล็อกจนทำให้สามารถเขี่ยลิ้นได้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง

          หัวลูกบิดหลุดจากชุดตัวเรือนกุญแจ สาเหตุเกิดจากการถอดหัวลูกบิดในระหว่างการติดตั้งแล้วใส่กลับไม่ได้หรือไม่เข้าล็อก

          ปุ่มกดกดยากหรือลงไม่สุด สาเหตุเพราะเกิดจากลูกบิดเสียรูปทรงทำให้กล่องลิ้นเคลื่อนที่ไม่สุด

          ลูกบิดฝืด สาเหตุเพราะเกิดจากการติดตั้งหรือลูกบิดอาจจะเกิดจากการถูกกระแทกจนเสียสภาพ

          ลูกกุญแจไขไม่ได้ สาเหตุเพราะเกิดจากการสลับลูกกุญแจ

          หัวลูกบิดสีลอก สาเหตุเพราะเกิดจากแลคเกอร์ที่เคลือบสีหลุดลอก ทำให้ผิวชิ้นงานสัมผัสกับฝุ่นละอองและความชื้น

          ลูกบิดที่ใช้นาน ๆ หลวมไม่พอดีกับประตู สาเหตุเกิดจากการหดและบิดตัวของบานประตูหรือเกิดจากการคลายตัวของสกรู

          หัวลูกบิดด้านในหมุนไม่ได้ สาเหตุเกิดจากการหดและบิดตัวของบานประตูหรือเกิดจากการคลายตัวของสกรู

          หัวลูกบิดเป็นคราบดำหรือคราบด่าง สาเหตุอาจจะเกิดจากสารเคมีบางตัวในสารทำความสะอาด เช่น คลอรีน กำมะถัน และแคลเซียม ซึ่งส่วนมากจะเป็นส่วนผสมของสารทำความสะอาดเกือบทุกชนิด

          ลูกกุญแจเสียบลูกยากหรือดึงลูกยาก สาเหตุเกิดจากฟันกุญแจบุบ บิ่น หรือลูกกุญแจบิดงอ



วิธีซ่อมลูกบิดประตูบ้าน


1. ลูกบิดค้าง

          วิธีนี้แก้ได้ง่าย  ๆ ไม่ต้องไขมือจับลูกบิดออก ถ้าปุ่มล็อกจากด้านในเป็นแบบนูนขึ้น ให้ใช้มือจับปุ่มล็อกให้แน่น กดลง แล้วหมุนปุ่มล็อกขึ้น ถ้าปุ่มล็อกเป็นแบบมีร่องตรงกลาง ให้ใช้นิ้วโป้งกดลงไปให้ตรงร่อง กดให้แน่นแล้วหมุนขึ้น

2. ลูกบิดประตูเปิดไม่ออก

          เมื่อเกิดปัญหาลูกบิดค้าง ประตูจะเปิดไม่ได้เสมือนกับว่าโดนล็อกไว้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในห้องก็ตาม ให้แก้โดยใช้ตะปูหรือเข็มเล็ก ๆ แทงเข้าไปในรูที่อยู่คอลูกบิดด้านในพร้อมกับหมุนลูกบิดไปด้วย เมื่อเปิดประตูได้แล้วให้ถอดมือจับลูกบิดด้านในออก โดยใช้เข็มหรือตะปูแทงรูที่อยู่คอลูกบิด ดึงมือจับออกแล้วฉีดน้ำมันหล่อลื่น หมุนแกนลูกบิดเพื่อให้น้ำมันเข้าทั่วถึง จากนั้นนำมือจับใส่เข้าไปดังเดิม

3. ลูกบิดคลอน

          ให้ลองหมุนฝาครอบลูกบิดด้านนอกให้แน่น ถ้าหมุนจนสุดแล้วแต่ลูกบิดยังคลอนอยู่แสดงว่าสกรูด้านในคลายตัว วิธีซ่อมก็คือให้ถอดมือจับด้านในและฝาครอบออกโดยใช้ตะปูแทงรูเล็ก ๆ บริเวณคอลูกบิดด้านใน ใช้ไขควงขันสกรูด้านในให้แน่น แล้วใส่ฝาครอบและลูกบิดคืนดังเดิม
 

วิธีเปลี่ยนลูกบิดประตู

 
หารูเล็ก ๆ บริเวณมือจับด้านใน แล้วใช้ตะปูหรือโลหะปลายแหลมแทงลงไปเพื่อให้แกนล็อกลูกบิดคลายตัวออก

  
จากนั้นดึงมือจับด้านในออก งัดฝาครอบออกด้วย

  
ถอดแผ่นประกบยึดลูกบิด โดยใช้ไขควงหมุนสกรูออก


ดึงมือจับด้านนอก ลูกบิดเก่า และหมุนสกรูปลดเดือยล็อกตรงกลางออก


เมื่อถอดลูกบิดเก่าออกทั้งหมดแล้วให้ใส่เดือยล็อกอันใหม่เข้าไป หมุนสกรูติดให้แน่น


เมื่อถอดลูกบิดเก่าออกทั้งหมดแล้วให้ใส่เดือยล็อกอันใหม่เข้าไป หมุนสกรูติดให้แน่น


สุดท้ายใส่มือจับด้านในให้ลงล็อก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Frosty Life, rmi, foremanblog และ homedecorthai
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Frosty Life
http://home.kapook.com/view142533.html